วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ใบความรู้

      8

            เชื่อว่าหลายคนคงสับสนกับคำว่า Web site , Web page , Home page ว่าต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นก็ดูที่รูปด้านล่างก่อน


              รูปที่ 1 แสดงความแตกต่าง Web site, Home page และ Web page

            Web page คือ เอกสาร ข้อมูล โดยจะอยู่ในรูปแบบ ของ html พูดง่ายๆก็คือ เป็นหน้า
ที่แสดงผลอยู่ตอนนี้นี่เอง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเอกสารอื่นๆ ด้วยไฮเปอร์ลิงค์ ตามที่แสดงในรูปที่ 1
           Web site คือ การเรียกชื่อกลุ่มก้อนของเว็บเพจรวมกันหลายๆหน้า บางครั้งเราอาจเรียก แทน Domain name (Domain name
เช่น http://www.chonnfe.com)
            Home page คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ เช่นเมื่อเราพิมพ์ http://www.chonnfe.com ก็จะแสดงเว็บเพจที่ชื่อว่า index ก่อนเสมอ เปรียบได้กับสารบัญของเว็บเพจนั่นเอง
กล่องข้อความ: อินเทอร์เน็ต (Internet)     
            อินเทอร์เน็ต คือ ระบบที่ต่อคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทั่วโลกนับร้อยนับพันล้านเครื่องเข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมต่อนี้ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่ง
ข้อมูลหากันได้ ทำให้เกิดบริการต่างๆขึ้นมา เช่น อีเมล์ , การสนทนาออนไลน์ (VoIP) , Chat , การส่งไฟล์หากัน และที่เราใช้งานกันอยู่เป็นประจำคือ
เว็บ
            อินเทอร์เน็ต มีต้นกำหนดจากการที่สหภาพโซเวียต USSR สามารถปล่อยดาวเทียมชื่อ Sputnik สู่อวกาศได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการกดดันให้
สหรัฐอเมริกา ต้องสร้างหน่วยงานชื่อ Advanced Research Projects Agency (ARPA) สังกัดกระทรวงกลาโหม ในปี 1958 เพื่อกลับมาเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีอีกครั้ง ซึ่งหน่วยงาน ARPA นี่เองที่ทำให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตขึ้นมา ในปี 1969 โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ต่อมาก็ถูกนำมาใช้ในมหาวิทยาลัย โดยเชื่อมต่อระหว่างมหาลัย 4 แห่ง คือ University of California
at Los Angeles ,University of California at Santa Barbara , Stanford Research Institute
และ University
of Utah
และได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน เกิดเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกัน

            การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เราจำเป็นต้องตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเหมือนกับชื่อของคน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ด้วยกันรู้ว่าเราต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเครือข่ายกันแน่ ซึ่งด้วยเหตุนี้เองทำให้ต้องใช้ระบบ TCP/IP เพื่อให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ชื่ออะไรกันแน่ โดยจะให้ตัวเลข 4 ชุดด้วยกัน เช่น 202.143.146.68 แทนชื่อของคอมพิวเตอร์นั่นเอง
  
กล่องข้อความ: Web server , Web hosting
            Web server ความจริงแล้วมีความหมายอยู่ 2 อย่างคือ
            1. เป็นโปรแกรม ที่คอยให้บริการในการส่งข้อมูล ต่างโดยใช้ Hypertext Transfer Protocol (HTTP)
            2. เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในที่นี้เราจะพูดถึงในส่วนนี้กัน

            จากที่เราทราบอยู่แล้วว่าอินเทอร์เน็ตคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายตลอดเวลาว่า Host
หรือ เครื่องแม่ข่าย ซึ่งจะทำหน้าที่คอยให้บริการ (service) จ่ายข้อมูลต่างๆ ทำให้บางครั้งเราก็เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์พวกนี้ว่า Server ซึ่ง Server
ของเราเน้นให้บริการเกี่ยวกับเว็บ เราจึงเรียกว่า Web server
            ซึ่งในการทำงานเกี่ยวกับเว็บตัว Web server ก็จะส่งข้อมูล (Web page) ที่เราได้สร้างขึ้นมาให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ขอข้อมูล
เช่นเมื่อเราพิมพ์ http://www.chonnfe.com ผ่านโปรแกรม Web browser จากนั้น Web browser ก็จะหาข้อมูลว่าเครื่องใดที่เป็น
Web server ของ http://www.chonnfe.com และเมื่อเจอเครื่องนั้นแล้วก็จะเปิดไฟล์ home page (index) ขึ้นมาแสดงผู้เรียนอาจเคย
ได้ยินชื่อ Web hosting กันบ้างซึ่งเราอาจหมายถึงผู้ที่ให้บริการให้เช่า server นั่นเอง


กล่องข้อความ: Domain name     
            Domain name (ยกตัวอย่างเช่น http://www.chonnfe.com) เปรียบเสมือนทะเบียนบ้านของเรา ซึ่งจะบอกให้คนอื่นเข้ามาที่บ้านของเราถูกต้อง ดังนั้นจึงซ้ำกันไม่ได้ ในบทนี้เราจะมาดูรายละเอียดของ Domain name กัน
จากเนื้อหาที่ผ่านๆมาทำให้เราทราบว่าคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันด้วยระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่ง Web server ก็อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตด้วย ซึ่งการติดต่อกันต้องใช้ IP แทนชื่อของคอมพิวเตอร์แต่ละตัว แล้ว Domain name ละเกี่ยวอะไรด้วย
ความจริงแล้ว Domain name ก็คือ IP Address นั่นเอง ซึ่งเราอาจจะลองพิมพ์ 72.14.235.147 แทนการพิมพ์ http://www.google.co.th ก็สามารถเปิดเว็บ google ได้เช่นเดียวกัน เหตุที่เราต้องใช้ Domain name แทน IP Address เพราะว่า
            1. จำได้ง่ายกว่า
            2. สามารถสื่อความหมายได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับอะไร
            3. เมื่อผู้เรียนย้าย Web server ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ Domain name

            เราอาจงงว่าทำไมเปลี่ยน server แล้วทำไมถึงไม่ต้องเปลี่ยน Domain name เพราะว่า IP address ของเครื่องเปลี่ยน Domain name ก็ต้องเปลี่ยนด้วยสิ ซึ่งจริงแล้วนั้น Domain name เป็นชื่อที่ถูกเก็บไว้ที่ DNS server ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลไม่ให้ชื่อ domain name ซ้ำกัน เหมือนกับ
ทะเบียนบ้านนั่นเอง ซึ่งผู้ดูแลจะรับหน้าที่ในการจด domain name ให้เราโดยเราจะต้องเสียค่าบริการให้กับผู้ดูแลเป็นรายปี ซึ่งผู้ดูแลจะนำชื่อ Domain name
ของเราไปเก็บไว้ที่ DNS server เมื่อมีการเรียกใช้ก็จะบอก IP Address ของเครื่อง Web server ของเราไป ยกตัวอย่าง
เราใช้ Web brower ในการเปิดเว็บ http://www.chonnfe.com  Web browser ของเราก็จะส่งข้อมูลไปขอ IP address ของชื่อ
http://www.chonnfe.com จาก DNS server ต่อจากนั้น DNS server ก็จะส่ง IP address ของ Web server เว็บ
http://www.chonnfe.com มาให้ Web browser หลังจากนั้นก็จะทำการติดต่อกับ Web server เพื่อให้ส่งไฟล์มาให้เราต่อไป
โครงสร้างของ domain name เป็นดังนี้
          http://www.banbung.chonnfe.com/
โครงสร้างประกอบด้วย 3 ระดับดังนี้
            1. โดเมนระดับบนสุด (Top-level Domain) ตามตัวอย่างคือส่วน .com
            2. โดเมนระดับรอง (Second-level Domain) ตามตัวอย่างคือ banbung
            3. โดเมนย่อย (Sub domain) ตามตัวอย่างคือ sub

โดเมนลำดับบนสุดนั้น ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะซึ่งระบุรายละเอียดของกลุ่ม ดังนี้
            .mil แทนกลุ่มของหน่วยงานทางทหารของสหรัฐเมริกา
            .gov แทนกลุ่มของหน่วยงานของรัฐบาล
            .com แทนกลุ่มขององค์กรหรือบริษัทเอกชน
            .net แทนองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย
            .edu แทนสถาบันการศึกษา
            .org แทนองค์กรหรือสมาคมต่างๆ ที่ดำเนินการโดยไม่ได้หวังผลกำไร
            .xx ใช้ตัวอักษร 2 ตัวแทนชื่อประเทศ เช่น .th หมายถึงประเทศไทย

            หมายเหตุ คำอ่าน เช่น  .com  อ่านว่า dot (ดอท)  com(คอม) เราไม่อ่านว่า จุด-คอม
ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกลุ่มของ โดเมนลำดับบนสุดอีก 7 กลุ่มคือ
            .firm แทนองค์กรหรือบริษัทห้างร้านทั่วไป
            .store แทนบริษัทที่มีธุรกรรมทางการค้า
            .Web แทนเว็บไซท์ที่ให้ข้อมูลต่างๆ
            .arts แทนกลุ่มที่มีกิจกรรมทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม
            .rec แทนองค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านนันทนาการ
            .info แทนองค์กรที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล
            .nom สำหรับบุคคลทั่วไป
กล่องข้อความ: FTP     
           FTP เป็นโปรโตรคอลชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายไฟล์ ซึ่งจำเป็นมากในการทำเว็บ เพราะอย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าเว็บของเรานั้นประกอบได้ไฟล์ ต่างๆ
มากมาย เช่น ไฟล์ภาพ , ไฟล์ html และอีกมากมายซึ่งเราจำเป็นจะต้องย้ายไฟล์เหล่านั้นไปที่ Web server ของเรา ซึ่งถ้าเราใช้ FTP
เราก็เปิดโปรแกรมขึ้นมาและย้ายไฟล์จากเครื่องของเราไปที่โปรแกรม FTP จากนั้นโปรแกรมก็จะส่งไฟล์ไปที่ Web server ของเราอัตโนมัติ



กล่องข้อความ: HTML     

           HTML (Hypertext Markup Language) เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในเว็บเพ็จ เพื่อแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์
จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ HTML คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด
ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag)
ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE, Netscape, Opera ฯลฯ

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

การอัพโหลด

                  5
                                                                             
            การอับโหลดเว็บไซต์ที่เราได้สร้างขึ้นมา เพื่อเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีวิธีการในการอับโหลดหลากหลายวิธี แต่ในที่นี้ขอแนะนำโปรแกรมที่ใช้ในการอับโหลดข้อมูลในเว็บไซต์
นั่นคือโปรแกรม WS_FTP.Pro.V8  สามารถหาดาวน์โหลดได้ตามอินเตอร์เน็ตทั่วไป
กล่องข้อความ: การติดตั้งโปรแกรม WS_FTP.PRO.V8  WS_FTP.PRO.V8  WS_FTP.PRO.V8     
             1. เมื่อมีโปรแกรม WS_FTP.Pro.V8 ให้ดับเบิลคลิกไฟล์ติดตั้ง  fo-ws802 .exe หรือที่รูป                     
             2. โปรแกรมจะเริ่มทำการติดตั้ง อัตโนมัติ


                                    รูปที่ 194 การติดตั้ง WS_FTP./pro V.8
         
            

                                        รูปที่ 195 เริ่มเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม
       3. หลังจากสิ้นสุดขั้นตอน จะปรากฏหน้าจอเริ่มเข้าสู่หน้าจอติดตั้งโปรแกรมเข้าสู้หน้าจอของการแนะนำโปรแกรม  WS_FTP Pro  ให้กดปุ่ม  Next                                    
           4. กดปุ่ม Yes เพื่อยอมรับข้อตกลงในการใช้โปรแกรม

      -  เลือกกลุ่มโปรแกรมที่จะให้ WS_FTP Pro อยู่ ถ้าไม่ต้องสนใจ ให้ คลิกปุ่ม Next >
      -  เลือกค่าตั้งต้นนี้
    -  คลิกปุ่ม Next
          
 


รูปที่ 197 ติดตั้งโปรแกรมไว้ที่กำหนด (Path)
รูปที่ 198 การ Configuration
 
 
รูปที่ 200 การ Installation Option
 


รูปที่ 199 การเลือก Program Folder



 
รูปที่ 201 ติดตั้งโปรแกรมเสร็จสิ้น
กล่องข้อความ: การตั้งค่าโปรแกรม เพื่อใช้งานเบื้องต้นโปรแกรม WS_Ftp Pro



                   1.  เริ่มเปิดใช้งานโปรแกรม โดยดับเบิ้ลคลิกที่รูปไอคอน  
                                          
                                              รูปที่ 202 การเปิดโปรแกรม WS_FTP_Pro 


                                           รูปที่ 203 ขั้นตอนการเปิดโปรแกรม
                       หรือไปที่เมนู Start Menu --> Programs -->  WS_Ftp Pro
                                                         
                         2.จะปรากฏหน้าจอที่ทำการติดต่อกับเครื่องบริการ FTP  ดังนั้นเมื่อเราต้องการติดต่อไปใช้บริการนำไฟล์เอกสารขึ้นที่เครื่องบริการเราจึงต้องสร้าง
การติดต่อไปยังเครื่อง ๆ นั้น โดยเริ่มจาก  
            คลิกที่ปุ่ม Create Site    เพื่อสร้างการติดต่อใหม่เอง
 
                                                รูปที่ 204 การ Create Site

2. จะปรากฏหน้าจอให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องบริการ ที่ต้องการติดต่อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                       รูปที่ 205 การตั้งชื่อ Profile Name
             l Name ให้ระบุเป็นชื่ออะไรก็ได้ เสมือนเป็นชื่อเรียกของ Site หรืองานนั้น ๆ   
กดปุ่ม Next
            - ใส่ IP ของ web Server  ในช่อง Host Address (หมายเหตุ : สามารถใส่ชื่อ web site ได้  เช่น http://chon.nfe.go.th/)


                          รูปที่ 206  ใส่ชื่อ Host Address
               กดปุ่ม Next     
            - กดปุ่ม Next     
                                                                                   
       User ID : ระบุชื่อผู้ใช้ของคุณ
            - Password :ระบุรหัสผ่านของคุณ ถ้าเป็นเครื่องของเราเองใช้ประจำไม่อยากใส่รหัสผ่านทุกครั้งให้เลือกทำเครื่องหมายถูกไว้
                 ที่ Save Password ไว้ด้วย
            - เมื่อระบุช่องดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ให้คลิก Next > เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
             ตั้งค่าช่องการติดต่อ (Port) ไว้ที่หมายเลข 21 เป็นค่าเริ่มต้น  ให้ระบุหมายเลข Port ลงในช่อง Port เป็น 21 ด้วย เมื่อเรียบร้อยแล้ว
            ให้คลิก Finish เพื่อจบขั้นตอนการตั้งค่า

 
           3.หน้าจอนี้จะปรากฏข้อมูลของ Site ที่เราสร้างการติดต่อไว้ โดยมีรายละเอียดดังรูปที่ 209
เมื่อต้องการติดต่อไปยังเครื่องให้บริการดังกล่าวที่ได้สร้างไว้ ก็สามารถคลิกชื่อ Site
และคลิกปุ่ม Connect เพื่อติดต่อได้ทันที


                      รูปที่ 209 การ Connect  เว็บไซต์ที่ให้บริการ                              
  
            4.  เมื่อโปรแกรมติดต่อไปยังเครื่องบริการดังกล่าวได้แล้ว จะปรากฏหน้าจอแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ดังรูปที่ 210 
 
                                 รูปที่ 210 แสดงหน้าตาเมื่อ Connect ผ่าน


           5.  หลังจากเข้าสู่การติดต่อได้แล้ว มีบางค่าที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ เช่นในส่วนของการลบหรือย้าย File หรือ Folder ต่าง ๆ

           ให้คลิกที่ปุ่ม Options... ด้านล่างจะปรากฏหน้าจอดังรูปที่ 211
                       
           จากนั้นคลิกทำเครื่องหมายถูกที่หน้าช่องในหัวข้อ 
              Allow deletion of non-empty folders
           Allow files and folders to be moved
               ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อเก็บค่า และออกจากการตั้งค่าเพิ่มเติม




                                  รูปที่ 212 การปรับค่า Option      
  
การ "โอน/ย้ายข้อมูล" ขึ้นสู่เว็บไซต์ ด้วยโปรแกรม WS_FTP

                   FTP (File Transfer Protocol) : ใช้สำหรับ "โอนย้ายไฟล์ข้อมูล" ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณกับเครื่องแม่ข่าย (Server)

                   6. การส่งไฟล์ (Upload) ก็คลิกเลือกที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการลากไปทางฝั่งขวาได้เลย การรับไฟล์ (Download) ก็ทำในทางกลับกันส่วนการใช้งานอื่นๆ
                        ก็สามารถคลิกที่ปุ่มต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้.-
                   ChgDir : สำหรับการเปลี่ยนไปไดเร็กทอรี่หรือโฟลเดอร์ใหม่ จะเร็วกว่าการคลิกย้อนกลับทีละระดับ
                    MkDir : หากต้องการสร้าง Folder ใหม่ก็สามารถคลิกปุ่มนี้ เพื่อสร้าง Folder ใหม่ได้
                   Rename : เมื่อเลือก File หรือ Folder ที่ต้องการแล้ว จะปรากฏปุ่มนี้ สามารถคลิกเพื่อเปลี่ยนชื่อ File หรือ Folder
                   Delete : เมื่อเลือก File หรือ Folder ที่ต้องการแล้ว จะปรากฏปุ่มนี้ สามารถคลิกเพื่อลบไฟล์หรือไดเร็กทอรี่
                   Refresh : คลิกปุ่มนี้ เพื่อแสดงรายการปัจจุบันที่สุด

รูปที่ 213 การสร้างโฟลเดอร์ชื่อ Saran ในฝั่งเครื่องให้บริการ
  
            ต่อไปนี้ขอยกตัวอย่างการอับโหลด (Upload) ไฟล์เว็บไซต์ที่ได้สร้างไว้แล้ว โดยเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ D:\nfechon\  และจะทำการอับโหลดไว้
ที่โฟลเดอร์ Saran  ดังรูปที่ 214

             รูปที่ 214 การโอน/ย้ายข้อมูลเข้าโฟลเดอร์ Saran ในฝั่งเครื่องให้บริการ Server     
  
            - ให้ลากคลุมไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ใน โฟลเดอร์ nfechon  ดังรูปที่ 215
            - จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม  
 
 
                                    รูปที่ 215 การคลุมไฟล์ทั้งหมดที่ Upload
            - ให้รออีกระยะหนึ่ง เนื่องจากโปรแกรมกำลังอับโหลดไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในโฟลเดอร์ nfechon  จนกระทั้งเสร็จสิ้น ดังรูปที่ 216

  
                                               รูปที่ 216 ระบบกำลังทำการ Upload ข้อมูล

                       หากไม่มีอะไรผิดพลาด ไฟล์ต่าง ๆที่อับโหลดจากโฟลเดอร์ nfechon  จะปรากฏอยู่ทางด้านขวามือ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า
อยู่ในฝั่งเครื่อง Server  ถือว่าเสร็จสิ้นสมบรูณ์แล้ว ดังรูปที่ 217
 
                                    รูปที่ 217 การ Upload เสร็จสิ้นสมบูรณ์
                      7.  เมื่อต้องการเลิกใช้งานโปรแกรม ให้คลิกที่ปุ่ม  Disconnect หรือ Exit
หมายเหตุ ::  

                      หากต้องการทราบรายละเอียดการใช้งานโดยละเอียด ให้คลิกที่เมนู
                 Help >> Help Topics
 
                                           รูปที่ 218 การ Upload เสร็จแล้วให้คลิก Exit
กล่องข้อความ: การขอพื้นที่เว็บไซต์
            เมื่อสร้างเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือนำเว็บไซต์ที่ได้ Upload    ไปไว้ที่เครื่อง Web server เพื่อเผยแพร่สู่ระบบเครือข่าย
Internet หากไม่มี Web server เป็นของตัวเอง ก็จำเป็นต้องขอใช้พื้นที่ Web Sever ของผู้อื่น ซึ่งมีทั้งแบบที่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่รายเดือน รายปี
และแบบที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สามารถค้นหารายชื่อเว็บไซต์ที่ให้บริการเช่าพื้นที่ฟรี Web server ได้ โดยการค้นหาจากเว็บไซต์ที่ให้บริการ
ด้านข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยใช้คำว่า "free web hosting"
          ในตัวอย่างต่อไปนี้ ขอใช้เว็บ http://www.saiyaithai.org/  ซึ่งเป็น Web Server ที่ให้บริการฟรี ลองมาสมัครกันเพื่อนำเว็บไซต์ที่เรา
สร้างขึ้นไปฝากไว้กับบริการ Web Server ฟรี มีขั้นตอนการสมัครดังนี้.-
          1. เข้าเว็บ http://www.saiyaithai.org/  จะแสดงหน้าโฮมเพจ ดังรูปที่ 218  แล้วคลิกตามลูกศรเพื่อสมัครสมาชิก

 

 
          2. ให้พิมพ์ชื่อเว็บที่ต้องการลงไป  แล้วคลิกที่ “ตรวจสอบ” ถ้าไม่มีชื่อซ้ำแสดงว่าชื่อที่เราตั้งนั้นใช้ได้ ดังรูปที่ 220      
 
                                               
 
                                รูปที่ 220 ใส่รหัส และ Username ทำการตรวจสอบ
                     จากนั้นกรอกข้อมูลให้ครบตามที่เว็บกำหนดไว้ ดังรูปที่ 221
 
                                    รูปที่ 221 กรอกข้อมูลให้ครบตามที่ระบบกำหนด

                  3. เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จสิ้น ให้คลิกที่ Submit หากไม่มีอะไรผิดพลาดก็จะได้ดังรูปที่ 222
ในที่นี้ ได้ URL HomePage คือ  http://saran.saiyaithai.org/  และใช้งานฐานข้อมูล (ใช้กรณีที่เรามีฐานข้อมูล)
คือ http://www.saiyaithai.org/database/
 

  
                     รูปที่ 222 ระบบแจ้งผล URL และการใช้งานฐานข้อมูล

 
                           รูปที่ 223 การสมัครขอพื้นที่เสร็จสมบูรณ์
          4. จากนั้นให้ดับเบิลคลิกที่รูป    แล้วทำตามขั้นตอนต่าง ๆตามรูปด้านล่างนี้        

 
                       รูปที่ 224 การเปิดโปรแกรม Ws_FTP_Pro ทำการ Upload ข้อมูล
          5. จากนั้นปรากฏหน้าจอที่ทำการติดต่อกับเครื่องบริการ FTP  ดังนั้นเมื่อเราต้องการติดต่อไปใช้บริการนำไฟล์เอกสารขึ้นที่เครื่องบริการ
เราจึงต้องสร้างการติดต่อไปยังเครื่อง ๆ นั้น โดยเริ่มจาก   คลิกที่ปุ่ม Create Site    เพื่อสร้างการติดต่อใหม่เอง ดังรูปที่ 225
  
                         รูปที่ 225 การติดต่อไปยังเครื่องให้บริการ FTP
            6. จะปรากฏหน้าจอให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องบริการ ที่ต้องการติดต่อ โดยให้ใส่ ชื่อเว็บไซต์ของเครื่องให้บริการ
คือ www.saiyaithai.org ดังรูปที่ 226-227

 

รูปที่ 227  Host ให้ใส่ชื่อเว็บไซต์ของเครื่องผู้ให้บริการ
    
               
             - User ID : ระบุชื่อผู้ใช้ของคุณ (ตามที่ได้สมัครไว้)
          Password :ระบุรหัสผ่านของคุณ (ตามที่ได้สมัครไว้)

            เมื่อระบุช่องดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ให้คลิก Next > Next > Next  ดังรูปที่ 228-230
  
 

 
                                รูปที่ 228 ใส่ User Id และ Password
    
รูปที่ 229 ไม่ต้องปรับให้คลิก Next                                      
 

รูปที่ 230 ไม่ต้องปรับให้คลิก Next
 
             จากนั้นคลิกที่ Finish  ดังรูปที่ 231

 
                                         รูปที่ 231 ให้คลิก Finish
          7. หากไม่มีปัญหาขัดข้อง จะแสดงชื่อเว็บที่ให้บริการ จากนั้นให้คลิกที่ Connect  เพื่อติดต่อกับระบบของผู้ให้บริการ

 
                                     รูปที่ 232 Connect ติดต่อกับระบบผู้ให้บริการ
          8. เมื่อ Connect กับระบบผู้ให้บริการได้แล้ว โดยเครื่องผู้ให้บริการได้แจ้งให้เราทำการ Upload ข้อมูลไฟล์ต่าง ๆ เก็บไว้ที่โฟลเดอร์ชื่อ pubic_html
จากนั้นให้ดับเบิลคลิกเพื่อทำการเปิดโฟลเดอร์ที่ชื่อ pubic_html และด้านซ้ายมือซึ่งเป็นข้อมูลในเครื่องของเรา ให้เปิดไฟล์ที่ต้องการอับโหลด ในตัวอย่างไฟล์เว็บเพจ
และข้อมูลต่าง ๆที่สร้างขึ้นเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ D:\nfechon ดังรูปที่ 233-234

                       รูปที่ 233 แสดงการเปิดโฟลเดอร์ pubic_html
                                                                                                 

            9. ต่อจากนั้นให้ลากคลุมไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ใน โฟลเดอร์ nfechon  ดังรูปที่ 235
แล้วคลิกที่ปุ่ม   
 
             10. ให้รอสักครู่ เนื่องจากระบบกำลังอับโหลดไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในโฟลเดอร์ nfechon  
จนกระทั้งเสร็จสิ้น ดังรูปที่ 236
             11. เมื่อต้องการเลิกใช้งานโปรแกรม ให้คลิกที่ปุ่ม  Disconnect หรือ Exit
          12. หลังจากนั้นทดลองให้แสดงผลผ่านทาง Browser โดยพิมพ์ที่ช่อง Address ว่า http://saran.saiyaithai.org/index.html  ดังรูปที่ 237